Story : The Readers Online Cafe'
วันนี้นึกสนุกอยากติดตามการวิจารณ์ เรื่อง กรุงเทพ เมืองหนังสือโลก 2556 ว่ากระแสไปถึงไหนแล้ว
ก็เห็นว่ายังมีการวิพากษ์วิจารณ์กันอยู่เนืองๆ ที่โดนหนักเห็นจะเป็น สปอต ‘กรุงเทพ เมืองหนังสือโลก 2556 ที่โดนวิจารณ์ยับว่า "มุ่งสร้างภาพมากกว่าส่งเสริมการอ่านที่แท้จริง" พอได้อ่านคำวิจารณ์แล้วก็มีที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยครับ
ทั้งนี้ มิได้ทำเห็นใจฟากโน้น แล้วกลับมาเห็นดีฟากนี้ แต่เท่าที่ได้ดูสปอตดังกล่าวแล้ว ก็ไม่ได้ติดใจแต่อย่างใด กล่าวคือ มีทัศนะที่เป็นกลางๆ จะให้มองว่าเป็นโฆษณาขำๆ อารมณ์ดี ก็ไม่น่าจะผิด ภาพจากโฆษณา เด็กผู้หญิงหยิบหนังสือขึ้นมาอ่าน ทันใดเธอกลายเป็นคนที่ดูดีขึ้นมาผู้สร้างเขาเจตนาต้องการสื่อสารว่า "คุณลักษณะนิสัยรักการอ่านเป็นวิสัยที่ทำให้อะไรๆ ในชีวิตดีขึ้นใช่หรือไม่?" เพียงแต่ว่า การหยิบฉวยหนังสือเหมือนขึ้นมาอ่านผ่านๆ จะด้วยข้อจำกัดของเวลา จะด้วยเจตนาดีสร้างอารมณ์ขัน หรือจะคิดได้แค่นี้ก็ตามแต่ มันผิดวัตถุประสงค์ที่แท้จริงไป คิดว่าแง่นี้ล่ะครับที่สร้างความระคายเคืองแก่นักคิด นักเขียน พี่ๆ เขา
หรือหากจะมองว่า เอาอะไรคิด? ก็ได้อยู่ ทั้งที่การสื่อสารที่เป็นลักษณะของการรณรงค์ ควรจะมีแนวโน้มให้ค่านิยมไปทางให้คนที่รับชมเห็นดีเห็นงามเห็นคุณค่าลึกซึ้งของการกระทำนั้นๆ ใช่หรือไม่? มิใช่เอาปูนมาฉาบหน้า หรือให้คุณค่าแค่เอาผักชีโรยหน้าเช่นนี้
วันนี้นึกสนุกอยากติดตามการวิจารณ์ เรื่อง กรุงเทพ เมืองหนังสือโลก 2556 ว่ากระแสไปถึงไหนแล้ว
ก็เห็นว่ายังมีการวิพากษ์วิจารณ์กันอยู่เนืองๆ ที่โดนหนักเห็นจะเป็น สปอต ‘กรุงเทพ เมืองหนังสือโลก 2556 ที่โดนวิจารณ์ยับว่า "มุ่งสร้างภาพมากกว่าส่งเสริมการอ่านที่แท้จริง" พอได้อ่านคำวิจารณ์แล้วก็มีที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยครับ
ทั้งนี้ มิได้ทำเห็นใจฟากโน้น แล้วกลับมาเห็นดีฟากนี้ แต่เท่าที่ได้ดูสปอตดังกล่าวแล้ว ก็ไม่ได้ติดใจแต่อย่างใด กล่าวคือ มีทัศนะที่เป็นกลางๆ จะให้มองว่าเป็นโฆษณาขำๆ อารมณ์ดี ก็ไม่น่าจะผิด ภาพจากโฆษณา เด็กผู้หญิงหยิบหนังสือขึ้นมาอ่าน ทันใดเธอกลายเป็นคนที่ดูดีขึ้นมาผู้สร้างเขาเจตนาต้องการสื่อสารว่า "คุณลักษณะนิสัยรักการอ่านเป็นวิสัยที่ทำให้อะไรๆ ในชีวิตดีขึ้นใช่หรือไม่?" เพียงแต่ว่า การหยิบฉวยหนังสือเหมือนขึ้นมาอ่านผ่านๆ จะด้วยข้อจำกัดของเวลา จะด้วยเจตนาดีสร้างอารมณ์ขัน หรือจะคิดได้แค่นี้ก็ตามแต่ มันผิดวัตถุประสงค์ที่แท้จริงไป คิดว่าแง่นี้ล่ะครับที่สร้างความระคายเคืองแก่นักคิด นักเขียน พี่ๆ เขา
หรือหากจะมองว่า เอาอะไรคิด? ก็ได้อยู่ ทั้งที่การสื่อสารที่เป็นลักษณะของการรณรงค์ ควรจะมีแนวโน้มให้ค่านิยมไปทางให้คนที่รับชมเห็นดีเห็นงามเห็นคุณค่าลึกซึ้งของการกระทำนั้นๆ ใช่หรือไม่? มิใช่เอาปูนมาฉาบหน้า หรือให้คุณค่าแค่เอาผักชีโรยหน้าเช่นนี้
แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นที่จะเขียนวันนี้ครับทั่น เห็นพี่ๆ นักคิด นักเขียน เขาเครียดกันไปหน่อย ก็นึกสนุกด้วยใจหยิกแกมหยอก เอาประเด็นที่พี่ๆ เขาวิพากษ์วิจารณ์มาต่อปากยอกย้อนเล่นกันขำๆ คือ ไอ้คนที่รักการอ่านอย่างเรามันทนไม่ได้ ที่จะให้ใครมาทำให้เรื่องการอ่านเป็นเรื่องที่เครียดไปครับท่าน
นักวิจารณ์ 2 ท่าน ที่ขออนุญาตยกมาหยิกหยอกวันนี้ ท่านแรกคือ "ผมอยู่ข้างหลังคุณ"และท่านที่สอง คือ คุณปราบดา หยุ่น ทั้งสองท่านได้วิพากษ์สปอต ‘กรุงเทพ เมืองหนังสือโลก 2556 กันไปอย่างเอร็ดอร่อยแล้ว และเพื่อไม่ให้พวกพี่ๆ เขาเหงาวิจารณ์อยู่ฝ่ายเดียว เราก็เลยอาสาต่อปากต่อคำให้ครับท่าน
ท่านแรก "ผมอยู่ข้างหลังคุณ" บทความวิจารณ์จากหน้าแฟนเพจ "ผมอยู่ข้างหลังคุณ"
สปอต ‘กรุงเทพ เมืองหนังสือโลก 2556‘ ที่ถูกวิจารณ์กันขรมในตอนนี้ ทำให้คิดว่า สปอตที่มาพร้อมมุกตลกกับการด่วนสรุปเกี่ยวกับการอ่านหนังสือ สะท้อนมุมที่รัฐหรือผู้ใหญ่หลายคนมองเห็น การอ่าน ของประชาชน รวมถึง ทำให้คิดถึง รูปแบบการอ่านของเราในทุกวันนี้ได้ว่า
(The Readers Online Cafe' : อ่ะ ว่ามาเลยครับเพ่ แต่อย่าเยอะ)
1. เรานิยมอ่านอะไรสั้นๆ : ความเห็นที่มักจะพบมากขึ้นในโลกอินเตอร์เน็ตเวลามีบทความใดๆ หรือ การวิพากษ์วิจารณ์ คือ‘ยาวอะ ขี้เกียจอ่าน’ เวลาถกกันด้วยข้อมูลหรือเหตุผลไม่ว่าจะเรื่องการเมือง หรือ บันเทิง เราจะพบการเข้ามาตอบโดยไม่อ่านที่คนอื่นเขียน แล้วตอบประมาณว่า ‘ไม่รู้อะ เรารู้แค่ว่า ...”
(The Readers Online Cafe' : ก็แอบอ่านในที่ทำงานมันลำบากนี่ครับพี่ เอาสั้นๆ ถึงแก่นเลย อย่าเยอะ!!)
ความนิยมของ ทวิตเตอร์ ที่ข่าวสาร , ข้อคิด , ปรัชญา , ธรรมะ ฯลฯ ถูกย่นย่อให้รับเข้าสมองแบบสั้นๆ ทำให้สมองเกิดความพอใจคิดว่า สารที่ได้รับเพียงพอแล้ว
(The Readers Online Cafe': คนสร้าง twitter ก็ได้แรงบันดาลใจมาจากเด็กรถสองแถวบ้านเรานี่แหละเพ่!)
การเสพอะไรสั้นๆเป็นประจำ ก่อเกิดความ รู้เยอะ แต่ รู้ไม่ลึก และ ไม่คิดจะต่อยอด เพราะ สมองเคยชินกับการรับแค่ข้อมูลครั้งละสั้นๆ กับต้องพร้อมในการรู้เรื่องอื่นๆ ต่อไปให้เยอะๆ(The Readers Online Cafe' : โหเพ่ แต่ละคน อัพ เต'ตัส กันเร็วโคตรอ่ะเพ่ อ่านผ่านๆ ดีแล้วเดี๋ยวไม่ทันครับพี่!)
ก็คงเหมือนอาหาร Fast food ที่ไม่ได้อันตรายหรือเลวร้าย แต่การกินบ่อยๆ ก็อาจทำให้เข้าใจว่า มันคือ อาหารที่เปี่ยมคุณภาพและได้สารอาหารครบสมบูรณ์
(The Readers Online Cafe': ค่านิยมครับเพ่ คิดไรมากครับ!)
การอ่านหนังสือ ก็คงคล้ายกัน ดังจะเห็นว่า หนังสือขายดีส่วนใหญ่ มักเป็นหนังสือที่ไม่ได้เขียนอะไรยาวๆ แต่เป็น คำคม , ความเรียง ฯลฯ ที่นิยมถูกแบ่งให้สั้นๆจบเป็นตอนๆ
(The Readers Online Cafe' : โอ๊ย เป๊ะเลยพี่ อัพคำคมแล้วดูดี เป๊ะเว่อร์)
2. เรานิยมอ่านไม่กี่อย่างตามกระแส : หนังสือติดอันดับขายดีของร้านหนังสือหลายร้าน มีบางเล่มที่ดูแล้วอาจเผลอคิดในใจ “นั่นคือ หนังสือ ที่คนส่วนใหญ่ในสังคมซื้ออ่านกันจริงๆหรือ”
(The Readers Online Cafe' : หนังสือแฉอ่ะเหรอเพ่ ชอบเลย ยุ่งเรื่องชาวบ้านเนี่ย มีไร' อ่ะ?)
นอกจากนี้ หากดูหมวดของหนังสือยอดนิยม พบว่าแบ่งหมวดสำคัญได้สามหมวดที่ฮอตฮิต คือ หมวด’กรรม’ ที่มีทั้ง สกัด สะกด สกรีน สแกน สแครช กรรม ,
(The Readers Online Cafe' : แม่ผมสะสมเป็นคอลเลกชั่น นี่เห็นรอเล่มใหม่อยู่เลยพ่ ตอน สกรัม กรรม)
หมวด ‘ฟีลกู๊ด’ ที่สนับสนุนการมองโลกในแง่ดี ความรัก ทัศนคติแง่บวก
(The Readers Online Cafe' : พี่ ไม่' จัย วัยรุ่นหรอก เรามันพวกอ่อนไหว)
และหมวด บันได หนทาง ตัวอย่างก้าวสู่ ‘ความสำเร็จ’
หมวด ‘ฟีลกู๊ด’ ที่สนับสนุนการมองโลกในแง่ดี ความรัก ทัศนคติแง่บวก
(The Readers Online Cafe' : พี่ ไม่' จัย วัยรุ่นหรอก เรามันพวกอ่อนไหว)
และหมวด บันได หนทาง ตัวอย่างก้าวสู่ ‘ความสำเร็จ’
(The Readers Online Cafe' : บอกแล้วชอบ' ไรเร็วๆ )
ปัญหาของการอ่าน ไม่ใช่หนังสือเหล่านั้น เพราะโลกเราไม่ได้ดำรงอยู่ด้วยอย่างใดอย่างหนึ่ง หนังสือกรรม หนังสือมองโลกสวย หนังสือสู่ความสำเร็จ ไม่ได้ทำให้โลกแย่ลง แต่ละเล่มก็มีข้อดีของมัน แต่สังคมที่เสพอะไรเพียงด้านเดียวมากๆ มันสะท้อนว่า สังคมนั้นสนใจอะไร และ สังคมนั้นกำลังมีปัญหาเรื่องอะไร
(The Readers Online Cafe' : ก็บอกแล้วเป็นวันรุ่นไทยมันเหนื่อย)
กระแสอ่านเพียงแนวใดแนวหนึ่งมากๆ ทำให้ การอ่านแทนที่จะช่วยให้มองเห็นโลกกว้างกลับบีบโลกให้แคบลง เพราะความเชื่อที่มีต่อวิธีคิดระนาบเดียว(The Readers Online Cafe' : ก็ไม่ชอบ'ไรซับซ้อน จบป่ะ?!)
หนังสือธรรมะก็ดี นิยายก็ดี แต่สังคมไม่สามารถก้าวหน้าได้ด้วยธรรมะเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถพัฒนาได้ด้วยนิยายเพียงอย่างเดียว แต่ในสังคมไทย การสนับสนุนและเสียงเชียร์ของผู้ใหญ่มักจะเป็นไปในกระแสเดียว ราวกับว่า หนังสือประเภทใดประเภทหนึ่งก็เพียงพอแล้ว(The Readers Online Cafe' : ก็ผู้ใหญ่เขาไม่ว่าง ยุ่งกับการบริหารจัดการน้ำอยู่นี่เพ่)
รวมถึงการดูแคลนหนังสือบางประเภท เช่น มองว่าการอ่านการ์ตูน เป็นเรื่องสำหรับเด็กเท่านั้น หรือเป็นเรื่องไร้สาระ ทั้งที่มันไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย(The Readers Online Cafe' : โดยเฉพาะการ์ตูนเมดใช่อ่ะพี่ คิกคิก)
และเมื่อเทียบกับ best seller ที่เห็นจากเมืองนอกก็ชวนให้อิจฉา เมื่อเขามีหนังสือขายดีให้อ่านหลากหลายกว่า ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐศาสตร์ , การเกษตร , เทคโนโลยี , ปรัชญา , จิตวิทยา ฯลฯ และไม่ได้มาในรูปแบบหนังสือวิชาการจัดๆ(The Readers Online Cafe' : พูดงี้น้อยใจครับพี่ บอกตรงๆ น้อยใจ)
3. เรามักจะ ‘อ่าน’อะไรฉาบฉวย ไม่ใช่แค่ หนังสือ แต่รวมถึง คนและสังคม : จากสปอตเราจะเห็นว่า คนฉลาด หรือ ดูดี เปลี่ยนในทันที ที่หยิบหนังสือภาษาอังกฤษหรือหนังสือปกที่เขียนว่า ‘อัจฉริยะ’ ซึ่งมันแทบไม่ต่างจาก การด่วนตัดสิน คนเข้าวัดแล้วพูดเพราะ ว่าเป็นคนดี หรือ ด่วนตัดสิน คนโผงผางพูดขวานผ่าซาก ว่า จริงใจ , แถมสปอตยังสะท้อนทัศนคติผู้ใหญ่ที่ยังคิดว่า อ่านหนังสือที่สนับสนุนการเป็นอัจฉริยะ จะทำให้คนอ่านฉลาดขึ้น(The Readers Online Cafe' : ผมก็อยากให้หนังสือมีส่วนประกอบของโอเมก้า 3 นะ)
การดูดี หรือ ความฉลาด ไม่ใช่แค่ การหยิบมาอ่าน แต่ขึ้นกับว่า อ่านอะไร แต่ในขณะเดียวกัน การอ่าน ก็ไม่ได้ใช้เพื่อสรุปแทน ความดูดี หรือ ความเป็นคนฉลาด แต่ การอ่านเป็นการเปิดโลกทัศน์เราให้กว้าง ให้ลึก ฝึกให้คิด ฝึกให้เข้าใจ ซึ่งนั่นเป็นการพัฒนา ทรัพยากรพื้นฐานในสังคมอันได้แก่ มนุษย์ ซึ่งหากพัฒนามากขึ้น ก็จะยิ่งช่วยพัฒนาสังคมให้รุดหน้ามากขึ้น
(The Readers Online Cafe' โทษผมไม่ได้ครับ ใครๆ เขาก็มองกันที่ภายนอกก่อนทั้งนั้นแหละพี่)
การอ่านหนังสือ การเมือง , ศิลปวัฒนธรรม , ประวัติศาสตร์ หรือ กระทั่งการ์ตูนดีๆ ก็สามารถทำให้คนอ่าน ฉลาด ขึ้นได้ ในขณะเดียวกัน การอ่านหนังสือที่เน้น อัจฉริยะ มากเกินไป ก็อาจจะทำให้เกิดความงมงายหมกมุ่นจนไม่พัฒนาเลยก็เป็นได้
(The Readers Online Cafe' : อย่ามาว่าหนังสือ สกัด สะกด สกรีน สแกน สแครช กรรมของแม่ผมนะ)
การกระตุ้นให้บ้านเราเป็น เมืองหนังสือโลก จึงไม่น่าจะใช่ จำนวน แต่คือเนื้อหาว่า คนส่วนใหญ่อ่านอะไร และ รัฐเข้าใจวัตถุประสงค์หรือส่งเสริมให้คนอ่านอย่างไร
(The Readers Online Cafe' : พี่จบแล้วใช่อ่ะ?! พี่จบ ผมจบ)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ปัญหาของการอ่าน ไม่ใช่หนังสือเหล่านั้น เพราะโลกเราไม่ได้ดำรงอยู่ด้วยอย่างใดอย่างหนึ่ง หนังสือกรรม หนังสือมองโลกสวย หนังสือสู่ความสำเร็จ ไม่ได้ทำให้โลกแย่ลง แต่ละเล่มก็มีข้อดีของมัน แต่สังคมที่เสพอะไรเพียงด้านเดียวมากๆ มันสะท้อนว่า สังคมนั้นสนใจอะไร และ สังคมนั้นกำลังมีปัญหาเรื่องอะไร
(The Readers Online Cafe' : ก็บอกแล้วเป็นวันรุ่นไทยมันเหนื่อย)
กระแสอ่านเพียงแนวใดแนวหนึ่งมากๆ ทำให้ การอ่านแทนที่จะช่วยให้มองเห็นโลกกว้างกลับบีบโลกให้แคบลง เพราะความเชื่อที่มีต่อวิธีคิดระนาบเดียว(The Readers Online Cafe' : ก็ไม่ชอบ'ไรซับซ้อน จบป่ะ?!)
หนังสือธรรมะก็ดี นิยายก็ดี แต่สังคมไม่สามารถก้าวหน้าได้ด้วยธรรมะเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถพัฒนาได้ด้วยนิยายเพียงอย่างเดียว แต่ในสังคมไทย การสนับสนุนและเสียงเชียร์ของผู้ใหญ่มักจะเป็นไปในกระแสเดียว ราวกับว่า หนังสือประเภทใดประเภทหนึ่งก็เพียงพอแล้ว(The Readers Online Cafe' : ก็ผู้ใหญ่เขาไม่ว่าง ยุ่งกับการบริหารจัดการน้ำอยู่นี่เพ่)
รวมถึงการดูแคลนหนังสือบางประเภท เช่น มองว่าการอ่านการ์ตูน เป็นเรื่องสำหรับเด็กเท่านั้น หรือเป็นเรื่องไร้สาระ ทั้งที่มันไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย(The Readers Online Cafe' : โดยเฉพาะการ์ตูนเมดใช่อ่ะพี่ คิกคิก)
และเมื่อเทียบกับ best seller ที่เห็นจากเมืองนอกก็ชวนให้อิจฉา เมื่อเขามีหนังสือขายดีให้อ่านหลากหลายกว่า ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐศาสตร์ , การเกษตร , เทคโนโลยี , ปรัชญา , จิตวิทยา ฯลฯ และไม่ได้มาในรูปแบบหนังสือวิชาการจัดๆ(The Readers Online Cafe' : พูดงี้น้อยใจครับพี่ บอกตรงๆ น้อยใจ)
3. เรามักจะ ‘อ่าน’อะไรฉาบฉวย ไม่ใช่แค่ หนังสือ แต่รวมถึง คนและสังคม : จากสปอตเราจะเห็นว่า คนฉลาด หรือ ดูดี เปลี่ยนในทันที ที่หยิบหนังสือภาษาอังกฤษหรือหนังสือปกที่เขียนว่า ‘อัจฉริยะ’ ซึ่งมันแทบไม่ต่างจาก การด่วนตัดสิน คนเข้าวัดแล้วพูดเพราะ ว่าเป็นคนดี หรือ ด่วนตัดสิน คนโผงผางพูดขวานผ่าซาก ว่า จริงใจ , แถมสปอตยังสะท้อนทัศนคติผู้ใหญ่ที่ยังคิดว่า อ่านหนังสือที่สนับสนุนการเป็นอัจฉริยะ จะทำให้คนอ่านฉลาดขึ้น(The Readers Online Cafe' : ผมก็อยากให้หนังสือมีส่วนประกอบของโอเมก้า 3 นะ)
การดูดี หรือ ความฉลาด ไม่ใช่แค่ การหยิบมาอ่าน แต่ขึ้นกับว่า อ่านอะไร แต่ในขณะเดียวกัน การอ่าน ก็ไม่ได้ใช้เพื่อสรุปแทน ความดูดี หรือ ความเป็นคนฉลาด แต่ การอ่านเป็นการเปิดโลกทัศน์เราให้กว้าง ให้ลึก ฝึกให้คิด ฝึกให้เข้าใจ ซึ่งนั่นเป็นการพัฒนา ทรัพยากรพื้นฐานในสังคมอันได้แก่ มนุษย์ ซึ่งหากพัฒนามากขึ้น ก็จะยิ่งช่วยพัฒนาสังคมให้รุดหน้ามากขึ้น
(The Readers Online Cafe' โทษผมไม่ได้ครับ ใครๆ เขาก็มองกันที่ภายนอกก่อนทั้งนั้นแหละพี่)
การอ่านหนังสือ การเมือง , ศิลปวัฒนธรรม , ประวัติศาสตร์ หรือ กระทั่งการ์ตูนดีๆ ก็สามารถทำให้คนอ่าน ฉลาด ขึ้นได้ ในขณะเดียวกัน การอ่านหนังสือที่เน้น อัจฉริยะ มากเกินไป ก็อาจจะทำให้เกิดความงมงายหมกมุ่นจนไม่พัฒนาเลยก็เป็นได้
(The Readers Online Cafe' : อย่ามาว่าหนังสือ สกัด สะกด สกรีน สแกน สแครช กรรมของแม่ผมนะ)
การกระตุ้นให้บ้านเราเป็น เมืองหนังสือโลก จึงไม่น่าจะใช่ จำนวน แต่คือเนื้อหาว่า คนส่วนใหญ่อ่านอะไร และ รัฐเข้าใจวัตถุประสงค์หรือส่งเสริมให้คนอ่านอย่างไร
(The Readers Online Cafe' : พี่จบแล้วใช่อ่ะ?! พี่จบ ผมจบ)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อีกหนึ่งท่าน คุณปราบดา หยุ่น ข่าวจาก mthai
...
นอกจากนี้ ยังมี เสียงวิจารณ์จาก ปราบดา หยุ่น นักเขียนรางวัลซีไรท์ชื่อดัง ที่ออกมาแสดงมุมมองของตน ต่อโฆษณากรุงเทพเมืองหนังสือ ด้วยว่าโฆษณาดังกล่าวเป็นการหลอกลวงผู้รับสาร ดังนี้
(The Readers Online Cafe' : หลอกลวงเหมือนแชร์แม่ชะม้อยไหมพี่?)
โฆษณาชิ้นนี้ไม่ได้สื่อว่าการอ่านหนังสือทำให้คนฉลาด แต่บอกว่าแค่ถือหนังสือทำท่าว่าอ่านคนอื่นก็จะคิดว่าคุณเป็นคนน่าเคารพแล้ว
(The Readers Online Cafe' : พี่อีกคนละ บอกว่าอย่าเยอะ!?)
พูดอีกอย่างคือจงสร้างภาพด้วยการอ่านหนังสือ เหมาะมากกับ “เมืองตอแหลโลก”
(The Readers Online Cafe' : ไหนๆ ก็เป็นเมืองน้ำลดตอผุดแล้ว จะเป็นเมืองตอแหลโลก อีกสักตำแหน่งจะเป็น'ไรไปเพ่!?)
นอกจากจะต้องทำท่าว่าอ่านหนังสือแล้ว หนังสือที่ถือยังต้องเป็นภาษาอังกฤษ
(The Readers Online Cafe' : ไหนๆ ก็เป็นเมืองน้ำลดตอผุดแล้ว จะเป็นเมืองตอแหลโลก อีกสักตำแหน่งจะเป็น'ไรไปเพ่!?)
นอกจากจะต้องทำท่าว่าอ่านหนังสือแล้ว หนังสือที่ถือยังต้องเป็นภาษาอังกฤษ
(The Readers Online Cafe' : ก็อินเตอร์มันโก้กว่าเย๊อ)
และที่ตั้งวางทับกันอยู่นั่นก็เลือกมามั่วๆ ไม่ได้อยู่ในประเภทเดียวกันหรือเชื่อมโยงกับคนอ่านแต่อย่างไร
(The Readers Online Cafe' : ผมผิดเหรอเพ่ ผมชอบอ่านหลายแนวอ่ะ)
ขอแนะนำว่าคลิปต่อไปให้ถือหนังสือกลับหัวกลับหางไปเลย จะได้ฮากว่านี้
และที่ตั้งวางทับกันอยู่นั่นก็เลือกมามั่วๆ ไม่ได้อยู่ในประเภทเดียวกันหรือเชื่อมโยงกับคนอ่านแต่อย่างไร
(The Readers Online Cafe' : ผมผิดเหรอเพ่ ผมชอบอ่านหลายแนวอ่ะ)
ขอแนะนำว่าคลิปต่อไปให้ถือหนังสือกลับหัวกลับหางไปเลย จะได้ฮากว่านี้
(The Readers Online Cafe' : เฮ้ยพี่คิดได้อ่ะ เจ๋งไปเลยพี่)
นอกจากนี้ ปราบดา ยังทิ้งคำถามให้ผู้จัดทำโฆษณาชิ้นนี้ด้วย 2 คำถาม คือ
นอกจากนี้ ปราบดา ยังทิ้งคำถามให้ผู้จัดทำโฆษณาชิ้นนี้ด้วย 2 คำถาม คือ
1) เมื่อไหร่สไตล์การทำโฆษณา “ทำฮากับคนธรรมดาในอากัปกิริยาเปื่อยๆ กับเสียงพากย์กวนๆ” นี่จะหมดไปเสียที
(The Readers Online Cafe : แค่นี้ยังน้อยพี่ เดี๋ยวมาอีกหลายซีรี่ส์)
2) ทำไมคนจัดงานเมืองหนังสือโลกถึงอยากทำร้ายการอ่าน
(The Readers Online Cafe : อาการการอ่านสาหัสไหมพี่?)
..ก็เป็นการแหย่กันขำๆ ไม่รู้พี่ๆ เขาจะขำด้วยไหม เอาเป็นว่าลองคิดว่า "เราทุกคนมีเจตนาดีล่ะกันนะครับ" คิดอย่างนี้สบายใจดี แต่แนะว่าจะทำสปอตคราวหน้า ให้จัดทำประชาพิจารณ์ไปเลยครับท่าน!...(ฮา)