แนวคิดเรื่อง "ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว" หรือภาษาอังกฤษว่า Holocaust อันหมายถึง "การตายของคนกลุ่มใหญ่อย่างรุนแรง" ของท่านผู้นำหนวดจิ๋ม อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เรียกได้ว่าสุดโต่ง บ้าคลั่ง เข้าขั้นเสียสติ เขามีความเชื่อว่าบุคคลที่ไม่ใช่สายเลือดอารยันบริทุธิ์ไม่ควรมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ต่อไป และเพื่อสนับสนุนแนวคิดผู้เป็นนาย
ไฮน์ริช ฮิมเลอร์ เป็นผู้บัญชาการหน่วยเอสเอส ผู้บัญชาการทหาร และสมาชิกระดับสูงของพรรคนาซี ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้รับผิดชอบโดยตรงที่สุดสำหรับกาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ จึงหาสารพัดวิธีมาทำลายมนุษย์เผ่าพันธุ์อื่นให้สิ้นซาก โดยใช่วิธีทัณฑ์ทรมานต่างๆ นานา ทั้งการจับเอามาทำเป็นหนูทดลอง การปล่อยให้อดตาย การรมแก๊สพิษ และอื่นๆ อีกสารพัดวิธี ผลก็คือทำให้มีชาวยิวและกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ถูกสังหารเป็นจำนวนกว่า 5 ล้านคน ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
แอนน์ แฟรงค์ คือเด็กหญิงชาวยิวผู้หนึ่งที่ต้องจบชีวิตลงในครั้งนั้น แม้ว่าเธอจะไม่ได้ถูกยิง หรือถูกส่งเข้าห้องรมแก๊สพิษก็ตามที แต่ความทรมานที่เธอได้รับก็คงไม่ต่างชาวยิวผู้เคราะห์ร้ายคนอื่นๆ เธอเสียชีวิตด้วยโรคไข้รากสาด ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพความเป็นอยู่ที่เลวร้ายของค่ายกักกัน
สิ่งเดียวที่เธอได้ทิ้งไว้และแสดงให้เห็นถึงความสามารถในด้านการเขียนของเธอก็คือสมุดบันทึกประจำวันเล่มหนึ่งที่เธอได้รับเป็นของขวัญวันเกิดในปีที่ 13 ซึ่งต่อมาสมุดบันทึกเล่มนี้ได้กลายเป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่มีผู้อ่านมากที่สุดในโลกในชื่อ "บันทึกลับของแอนนน์ แฟรงค์" The Diary of a young girl
สมุดบันทึกของแอนน์ แฟรงค์
ในปีค.ศ.1933 เมื่อพรรคนาซีได้รับชับชนะในการเลือกตั้งและฮิตเลอร์ขึ้นมามีอำนาจอย่างเต็มตัว อ๊อตโต แฟรงค์ พ่อของแอนน์คาดการณ์ว่าอนาคตเยอรมนีจะต้องนองเลือด จึงเตรียมอพยพออกจากเยอรมนีไปตั้งรกรากที่เนเธอร์แลนด์ โดยให้ภรรยาและมาก็อธไปพักกับมารดาของเธอที่เมืองอาเค่น ส่วนเขาก็หนีบแอนน์ซึ่งขณะนั้นอายุเพียง 3 ขวบไปเนเธอร์แลนด์ จนได้ที่อยู่เป็นหลักแหล่งจึงรับครอบครัวมาอยู่ด้วยกัน
ต่อมาเมื่อกองทัพนาซีเข้ายึดครองเนเธอร์แลนด์ และได้ออกกฎควบคุมชาวยิวอย่างเข้มขวด อาทิ ต้องติดรูปดาวไว้บนอกเสื้อ เพื่อให้รู้ว่าเป็นคนยิวนะ ห้ามชาวยิวเข้าร้านรวงต่างๆ ที่ทางการไม่อนุญาต (ห้ามมันเกือบทุกร้าน) ห้ามชาวยิวเข้าโรงภาพยนตร์ และอาหารที่ได้รับแบ่งสรรปันส่วนอย่างจำกัด เรียกได้ว่ากระดิกกระเดี้ยแทบไม่ได้
แล้วสถานการณ์ก็มาตึงเครียดสุดๆ เมื่อ มาก็อธ แฟรงค์พี่สาวของแอนน์ ถูก "หมายเรียกตัว" หมายเรียกในที่นี้ไม่เหมือน หมายเรียกเกณฑ์ทหาร นะท่าน คือเรียกแล้วไปลับ ไม่ได้กลับจากค่าย ทีนี้จะอยู่ทำไมล่ะครับทั่น เผ่นสิ ดังนั้นแอนน์และครอบครัวของเธอกับผู้อื่นอีก 4 คน จึงต้องหลบไปซ๋อนตัว ในที่ซ่อนลับบนห้องหลังคา สำนักงานของนายอ็อตโต แฟรงค์ผู้พ่อ
อาคารสำนักงานที่ซ่อนลับ
หากทว่าให้อยู่เล่นๆ สักอาทิตย์ สองอาทิตย์ ก็พอว่า แต่แอนน์และคนอื่นๆ ต้องหลบอยู่ในที่ซ่อนลับถึง 2 ปี ! คิดดูเเถอะท่านว่า 2 ปีที่ไม่ได้ออกไปสู่โลกภายนอก แม้แต่ก้าวเดียวจะเป็นเช่นไร ติดคุกยังดีเสียกว่า เพราะติดคุกยังมีอิสระเสรีในบางคราวเท่าที่ผู้คุมจะอนุญาต แต่นี่ต้องเก็บตัวอยู่ในแต่ที่ซ่อนลับตลอดเวลา สภาพจิตคงย่ำแย่ถึงขีดสุด แต่เธอก็พยายามมองว่ายังโชคดีที่ไม่ต้องถูกจับไปค่ายกักกัน ซึ่งนั่นหมายถึงความตาย
ห้องนอนของ แอนน์ แฟรงค์
ในที่ซ่อนลับ
ความประทับใจที่มีต่อหนังสือ "บันทึกลับของแอนน์ แฟรงค์"
คือความผูกพันที่มีต่อชีวิตของเธอ มันเป็นความผูกพันที่ค่อยๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
การที่เธอเล่าถึงเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในที่ซ่อนลับ
รวมถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ณ เวลานั้น
ทำให้เรารู้สึกประหนึ่งเป็นผู้มีส่วนร่วมด้วยเช่นเดียวกัน ทั้งคอยลุ้น คอยเอาใจช่วย
และคอยรับฟังเธอบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ เมื่อบันทึกเดินทางมาใกล้สิ้นสุด
เราก็รู้สึกใจหายวาบ เพราะรู้ว่าอีกไม่นานแอนน์จะตาย
อ็อทโต แฟรงค์ เป็นคนเดียวในบรรดาพวกที่ซ่อนลับที่รอดชีวิตหลังจากสิ้นสุด ผู้ให้ความช่วยเหลือเมื่อครั้งอยู่ในที่ซ่อนลับ เก็บสมุดบันทึกของแอนน์ได้จากพื้นห้องในที่เกลื่อนกลาดกระจุยกระจาย และส่งมอบให้อ๊อตโต แฟรงค์ พ่อของแอนน์ เขาตัดสินใจนำสมุดบันทึกดังกล่าวออกตีพิมพ์ เพื่อให้สมกับปณิธานของแอนน์ที่ต้องการเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียง ถ้าแม้นว่าเธอยังอยู่....วันนี้ เธอคงได้ชื่นชมกับความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของเธอสมดั่งใจ
หลุมศพของ แอนน์ แฟรงค์ และ มาก็อธ
แฟรงค์
Note : เกร็ดเกี่ยวกับค่ายกักกันของนาซี หรือเกร็ดเกี่ยวกับสงคราม
ยังมีที่น่าสนใจอีกมาก รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากที่แอนน์ แฟรงค์
เสียชีวิตแล้ว ก็มีคนพูดถึงอีกจำนวนไม่น้อย ท่านที่สนใจสามารถ Search
หาอ่านเพิ่มเติมได้
ชื่อผู้แต่ง : Anne Frank
ชื่อผู้แปล : สังวรณ์ ไกรฤกษ์
สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์ผีเสื้อ
พิมพ์ล่าสุด : พิมพ์ครั้งที่ 3 แก้ไขและเพิ่มเติม สิงหาคม 2553
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น