วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ห้องสมุดลับของฮิตเลอร์ (Hitler s Private Library) - Timothy W. Ryback




ห้องสมุดลับของฮิตเลอร์ (Hitler s Private Library) - Timothy W. Ryback เปิดคลังหนังสือของจอมเผด็จการผู้ "รักการอ่าน" เบ้าหลอมผู้นำนาซีที่คนทั้งโลกต้องตะลึง!









ก่อนเยอรมนีพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ฮิตเลอร์ได้ชื่อเป็นนักสะสมหนังสือตัวยง เขามีหนังสือในครอบครองถึง 16,000 เล่ม ในห้องสมุดลับมากกว่า 3 แห่ง ทั้งในเบอร์ลิน มิวนิค และบ้านพักตากอากาศต่างๆ มีทั้งแนวประวัติศาสตร์ ปรัชญา การเมือง กวีนิพนธ์ และวรรณกรรมคลาสสิก เช่น โรมิโอกับจูเลียต, กระท่อมน้อยของลุงทอม และดอน กีโฆเต้ เป็นต้น 

แต่หนังสือเหล่านี้ไม่ใช่แค่ของสะสม มันมีความหมายต่อความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรม และการดำเนินชีวิตของอดีตผู้นำนาซีเสมือนเบ้าหลอมตัวตนอดอลฟ์ ฮิตเลอร์บนโลกใบนี้! ทิโมธี ดับเบิลยู. ไรแบค พาเราตามติดชีวิตฮิตเลอร์ผ่านหนังสือที่เขาอ่านในแต่ละช่วงชีวิต ตั้งแต่หนังสือที่อ่านในแนวหน้าระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงหนังสือเล่มสุดท้ายในบังเกอร์ก่อนฆ่าตัวตายในสงครามโลกครั้งที่ 2

นี่คือชีวประวัติแนวใหม่ของจอมเผด็จการฮิตเลอร์ในฐานะหนอนหนังสือ เพียบพร้อมด้วยข้อมูลชวนตะลึงที่โลกไม่เคยรู้มาก่อน






ชื่อหนังสือ : ห้องสมุดลับของฮิตเลอร์ (Hitler s Private Library)
ชื่อผู้แต่ง    : Timothy W. Ryback
ชื่อผู้แปล    : โรจนา นาเจริญ

1 ความคิดเห็น:

  1. ทำไมคนเราต้องเรียนวิชาประวัติศาสตร์ คำตอบที่มักให้ๆ กันมาคือ เพื่อศึกษาบทเรียนในอดีต แต่จำเป็นขนาดนั้นเลยหรือที่เราต้องมีความรู้ทางประวัติศาสตร์เพื่อจะได้รับบทเรียนในอดีต เพียงแค่ไปชมภาพยนตร์ว่าด้วยวีรกรรมความรักชาติของบรรพบุรุษ เพียงแค่ไปฟังนักการเมืองบนท้องถนนปราศรัยเรื่องเขาพระวิหาร เราก็จะได้บทเรียนมาอย่างล้นเหลือ โดยไม่มีความรู้ติดหัวมาเลยสักหยดเดียว

    “บทเรียน” ดูจะเป็นราคาที่เราต้องจ่ายมากกว่า เพื่อการอยู่อย่างสงบสุขในสังคมอนุรักษ์นิยมงูๆ ปลาๆ อย่างสังคมไทย ดังนั้นเราถึงยิ่งต้องเรียนประวัติศาสตร์ เรียนเพื่อจะได้มีภูมิคุ้มกันจากบทเรียนในอดีตเหล่านี้

    ถ้าจะมีสิ่งหนึ่งที่เรารู้น้อยยิ่งกว่าประวัติศาสตร์ของประเทศตัวเอง นั่นก็คือเรื่องราวในต่างแดน วาทกรรม “ฮิตเลอร์มาจากการเลือกตั้ง” เป็นผลพวงของความรู้อันคลาดเคลื่อนสองเด้งนี่เอง

    ตอบลบ